นิเทศศาสตร์ ศูนย์การเรียนระนอง 2 ประกอบด้วยอาจารย์ ดร.อมรรัตน์ เรืองสกุล พัฒนา ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต อาจารย์เกษม จันวดี อาจารย์ศิริมา คงทัพ อาจารย์โสวรรณ คงสวัสดิ์ และอาจารย์กรกนก มักการุณ พร้อมด้วยทีมงานจากหลักสูตร และทีมงานที่ช่วยในครั้งนี้ประกอบด้วยชาวบ้านผู้มีจิตอาสา ครู นักเรียน จากโรงเรียนบ้านนุเซะโปล้ สาขาห้องเรียนบ้านทิโพจิ อำเภออุ้มผาง จ.ตาก ในขั้นตอนนี้เป็นการทำให้ผนังโรงเรียนบ้านดินมีความเรียบเนียนขึ้นด้วยการฉาบผนังด้วยวัสดุธรรมชาติเช่นเคย ใช้ดิน ทราย แกลบเล็กน้อยผสมกับน้ำไม่ให้ข้นเกินไป ต้องผสมให้ความเข้มข้นลดลงไม่เหนียวข้นเหมือนการสร้างผนัง หากผนังมีรอยร้าวเล็กน้อยใช้ดินฉาบอุดตามร่องเกลี่ยด้วยมือหรือฟองน้ำให้เนียน หากผนังมีรอยร้าวใหญ่ให้เอาดินที่ใช้ส่วนผสมของการก่อผนังผสมฟางอุดไปในรอยแตกลึกแล้วค่อยใช้ดินฉาบเกลี่ยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากงานในขั้นตอนนี้เสร็จเป็นงานทำเฟอร์นิเจอร์ที่นั่งที่ทำจากก้อนอิฐดินดิบซึ่งได้ทำไว้เมื่อต้นเดือนก.ค. งานต่อไปคืองานสร้างสรรค์ที่บรรจงปั้นลายให้เป็นสื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ซึ่งงานที่จะนำเสนอในครั้งหน้าได้รับความร่วมมือกับครูพม่าที่เข้ามาสอนภาษาพม่าให้กับนักเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ จึงเป็นความร่วมมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางภาษา 3 ภาษา ได้แก่ภาษาพม่า ภาษากะเหรี่ยงและภาษาไทย บนผนังของโรงเรียนบ้านดิน (ส.ค.56)…(admin:เรวดี พลเยี่ยม)