ตราด /สวนดุสิตเปิดอาหารท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมปลอดภัย อาหารชุมชน
วันที่ 15 พย 63
ข่าว/ ช่วงเช้าที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมโรงแรมตราดซิตี้ อ.เมืองตราด จ.ตราด โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี สวนเพลง พร้อมทีมงานวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน(Gastronomy Village Tourism )ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยอง จันทบุรี และจ.ตราด โดยมี ทีมงานวิทยากรในการให้ความรู้กับชุมชน ประกอบด้วย ดร.จันทร์จนา ศิริพันธุ์วัฒนา อาจารย์โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผช.ศาสตราจารย์ เพ็ญนภา เวป พร้อมคณะวิทยากร มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการจากชุมชนท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจ.ตราด วิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชน และเยาวชน ประชาชนเข้าร่วมโครงการ 100 คน ใช้เวลาในการฝึกอบรมตามโครงการเป็นเวลา 1 วันด้วยกัน
การอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชุมชนท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ประกอบการด้านอาหารในชุมชนและร้านอาหารทั่วไป มีความรู้ ประสบการ จากการฝึกบรม เพื่อนำไปปรับใช้ให้เข้ากับยุคนิวินอมอล และปรับการบริการด้านอาหาร และการท่องเที่ยวให้เป็นสากล โดยเฉพาะด้านบริการอาหาร ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ชุมชน รักษาอัตลักษณ์ ด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน สำหรับเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวกันเพิ่มมากขึ้น ผช.ศาสตราจารย์ เพ็ยนภา เวป จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวถึงโครงการนี้ว่าเป็นการยกระดับการปรุงอาหารปลอดภัยผลักดันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาหารชุมชนตราด โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยการบริหารและจัดการทุน ด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข. กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยพื้นฐานที่ว่า มนุษย์เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน โดยมีเชฟชุมชน ยุวมัคคุเทศก์ชน ผู้นำชุมชนนำเสนอเมนูอาหารภูมิปัญญาท้องถิ่น การนำเสนอเอกลักษณ์ด้านอาหารท้องถิ่น ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีการปรับเปลี่ยน ปรับตัวให้เข้ายุคนิวนอมอล และเป็นสากลขึ้น จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น
ขณะ ดร.จันทร์จนา ศิริพันธุ์วัฒนา อาจารย์โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บอกว่าปัจจุบันการบริการด้านอาหาร และการท่องเที่ยว จะต้องสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยจากการท่องเที่ยวและการบริการด้านอาหาร ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมขน จะต้องเรียนรู้ หาประสบการณ์ในการบริหาร จัดการการท่องเที่ยวและบริการอาหาร ซึ่งต้องสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวและผู้บริโภค ทั้งกระบวนการผลิต ตั้งแต่อาคารสถานที่ที่ได้มาตรฐาน มีระเบียบ สะอาด มิดชิด ปลอดภัย
วัตถุดิบในการปรุงอาหารจะต้องสะอาด ปลอดภัย ตัวบุคลากรเอง จะต้องพร้อมทั้งการแต่งกาย สะอาด สถานที่บริการ และร้านอาหารจะต้องมีระเบียบ ถูกหลักสุขาภิบาล สิ่งสำคัญคือกระบวนการปรุงจะต้อง สะอาด ปลอดภัย จึงจำเป็นจะต้องให้ชุมชนท่องเที่ยว ผู้ประกอบการค้าอาหาร มีความรู้ มีประสบการณ์ และปรับตัวให้เป็นสากล รับการท่องเที่ยวยุคนิวนอมอลต่อไป แต่ก็ให้คงเอกลักษณ์ อัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรมของชุมชนไว้ ให้เป็เสน่ห์ทางการท่องเที่ยวต่อไป
https://youtu.be/qWFCfGSTJq0
ขอขอบคุณข้อมูลภาพ/ข่าว
http://www.tigernews.tv/2020/11/15/281466/
https://aec-tv-online2.com/?p=584274