คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการเสวนา (Focus Group) หัวข้อ “ภาพอนาคตของครูไทยในการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2566 ห้องประชุม 203 อาคาร ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน ชั้น 2 ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
                        โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิคณะก้าวหน้า คุณณภัทร ใจกล้า ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพฯ คุณนันทิชา เหมือนเงิน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ดร.ปรพล แก้วชาติ ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิต ผศ.ดร.จันทร์จรัส เสริมสาธนสวัสดิ์ ครูใหญ่โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ กรุงเทพฯ ดร.เพ็ญพักตร์ ภู่ศิลป์ ครูโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ กรุงเทพฯ คุณปานใจ คงสิทธิ์ เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ระดับชำนาญการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้ปกครองนักเรียน นางสาวกชกร เกียรติวิชัยงาม นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาประถมศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ กรุงเทพฯ และผศ.ดร.วีณัฐ สกุลหอม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นผู้ดำเนินรายการ
                        ประเด็นข้อเสนอแนะสำคัญที่ได้จากการเสวนา (Focus Group) เช่น การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญ ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา Knowledge Skill ทำให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียนรู้ เน้นการเรียนอย่างมีความสุข โรงเรียนต้องทำการพลิกโฉมโดยให้ครูทำการพัฒนางานกับโรงเรียนภายใต้ตัวชี้วัดจัดการเรียนการสอน ได้แก่ หลักสูตร การเขียนแผนการสอน การสอนแบบ Active Learning การใช้สื่อการสอน การประเมินผล การวิเคราะห์ผู้สอน การสร้างบรรยากาศ การอบรมคุณธรรม เน้นทำแผนการสอนแบบ Active Learning และมีกิจกรรมเสริมด้านกีฬา ดนตรี และศิลปะหลังเลิกเรียน ครูต้องฝึกให้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ ไม่เน้นเรียนบนกระดาน มีห้องปฏิบัติการช่วยสร้างนวัตกรรมของครูปฐมวัยในการออกแบบแผนและนวัตกรรมการสอน แผนการสอนต้องไม่วิชาการเกินไปต้องง่ายต่อการปฏิบัติ เพิ่มทักษะภาษา การวิจัย และวัดและประเมินผล เป็นสิ่งสำคัญของครู จะช่วยให้สามารถส่งเสริมและแก้ปัญหาของนักเรียน ในต่างประเทศจะเปิดโอกาสให้นักเรียนในด้านต่างๆ ชั่วโมงเรียนน้อยกว่าทำให้นักเรียนมีเวลาทำกิจกรรมเสริมต่างๆ ได้ สร้างพื้นที่ปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจให้นักเรียน เพิ่มหลักสูตรจิตวิทยาเชิงบวกให้ครู ครูควรสื่อสารในแบบกัลยานมิตร มองบวก เข้าใจการสื่อสารกับเด็ก ปรับตัวเข้ากับเด็ก มีกลไกการรับฟังเสียงครูและนักเรียนซึ่งกันและกัน พลิกโฉมนโยบายการวัดและประเมินผลให้เป็นไปในเชิงรุก เน้นสมรรถนะ กระบวนการผลิตครู ทักษะนำความรู้ เน้นการฝึกประสบการณ์จริงของครู
                          ในช่วงท้ายของการเสวนา คณบดีคณะครุศาสตร์ ได้กล่าวสรุปประเด็นเพื่อนำข้อมูลจากการเสวนากลุ่มไปใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาการศึกษาในอนาคต และมอบหมายให้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และหลักสูตรการประถมศึกษา นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดคุณลักษณะที่ดีของบัณฑิตครู เพื่อพัฒนาหลักสูตรใหม่ในปีการศึกษา 2566 และนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตต่อไปและแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตต่อไป