แพทย์แผนไทย ดร.อมรรัตน์ เรืองสกุล ประธานศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวน
ดุสิต และอาจารย์นรินทร์พจน์ สุวรรณกฤติ นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการบริการ การท่องเที่ยวและโลจิสติกส์ ผู้บรรยายพิเศษ ด้านการจัดการและนวัตกรรม ด้านการคิดค้นนวัตกรรม พัฒนาเทคโนโลยีสื่อการสอน และอุปกรณ์ ผสานความร่วมมือในการออกแบบ พร้อมด้วยคณะกรรมการศูนย์ฯ จัดแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรหุ่นยนต์นักข่าวจากวัสดุเหลือใช้ “น้อง Mass” (มวลชน) เป็นหุ่นยนต์ขับเคลื่อนที่ทำหน้าที่ในงานด้านการสื่อสาร ต้นแบบในการพัฒนาหุ่นยนต์นักข่าว รักษ์โลกรักษ์สิ่งแวดล้อม ตัวแรกในประเทศไทย ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรียนันท์ ประยูรศักดิ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.สุกฤตา สุวรรณกฤติ ที่ปรึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร ปักษา รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภุชงศ์ เมนะสินธุ์ รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ อาจารย์หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์นวัตกรรมและผู้ประกอบการธุรกิจ และทีมงานศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต รวมถึงอาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิตและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรหุ่นยนต์นักข่าวจากวัสดุเหลือใช้ “น้อง Mass (มวลชน) เป็นหุ่นยนต์จากวัสดุเหลือใช้ที่ตอบสนองด้านนวัตกรรมการใช้งานการสื่อสาร โดยบรรยายกาศในงานมีการแสดงบทบาทสถานการณ์จำลองในการนำเสนอนวัตกรรมการใช้งานด้านการสื่อสารทั้งระบบโดยมีนวัตกรหุ่นยนต์นักข่าวจากวัสดุเหลือใช้ “น้อง Mass (มวลชน) เป็นคนถ่ายทอดสาร ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นวัตกรหุ่นยนต์นักข่าวจากวัสดุเหลือใช้ “น้อง Mass” (มวลชน) แสดงถึงนวัตกรรมการใช้งานในการปฏิบัติภารกิจเป็นตัวกลางในการเจรจาต่อรองการสื่อสาร เจรจาลดความขัดแย้ง ย่นระยะเวลาการสื่อสาร สามารถเห็นหน้าและพูดคุยกันได้ทั้งสองฝ่ายผ่านระบบโทรศัพท์ทั้งในระบบ FaceTime และระบบโทรไลน์ ได้ทั่วโลก ลดความตึงเครียดและวิตกกังวลของสถานการณ์ต่าง ๆ ลง เพิ่มความสบายใจ คลายกังวลให้กับผู้ที่ตกอยู่ในเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ นวัตกรหุ่นยนต์นักข่าวจากวัสดุเหลือใช้ “น้อง Mass” (มวลชน) แสดงให้เห็นความเป็นต้นแบบในการประดิษฐ์หุ่นยนต์จากวัสดุเหลือใช้ เช่น กระดาษ ที่ย่อยสลายได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย หากสถานการณ์นั้นต้องมีการสูญเสียเกิดขึ้นกับตัวหุ่นยนต์ นอกจากนี้ภายในงานยังมีการแสดงถึงความเป็นหุ่นยนต์นวัตกรรมการใช้งานด้านการสื่อสารที่ช่วยปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติภารกิจในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมให้เกิดผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ส่วนสีสันที่ประกอบกันเป็นนวัตกรหุ่นยนต์นักข่าวจากวัสดุเหลือใช้ “น้อง Mass” (มวลชน) สีเหลือง สีเขียว สีส้ม สีของเนื้อกระดาษช่วยให้เกิดความอบอุ่นเป็นกันเอง จริงใจ มีความเป็นมิตร เบิกบานใจ สดชื่น กระตุ้นความอยากอาหาร รู้สึกปลอดภัย เห็นใจและมีความสัมพันธ์ที่ดี โดยพลังของสีจะเกิดความสัมพันธ์กันระหว่างร่างกาย จิตใจและอารมณ์ให้กับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ในลักษณะการใช้สีบำบัด (Color Therapy) สิ่งที่พิเศษมากขึ้นอีกนวัตกรหุ่นยนต์นักข่าวจากวัสดุเหลือใช้ “น้อง Mass (มวลชน) สามารถหมุนตัวได้รอบทิศทางทำให้ผู้ที่อยู่ภายนอกมองเห็นบรรยากาศภายใน ผู้ที่อยู่ภายในมองผ่านกล้องเห็นบรรยากาศภายนอก ช่วยลดความตึงเครียดของสถานการณ์ลง เพิ่มความสามารถในการสื่อสารผ่านระบบโทรศัพท์และสามารถบันทึกภาพที่มองเห็นจากกล้องโทรศัพท์มือถือที่อยู่ภายนอกได้ตลอดเวลา นวัตกรหุ่นยนต์นักข่าวจากวัสดุเหลือใช้ “น้อง Mass (มวลชน) มีการประยุกต์ที่ใส่อาหารน้ำดื่ม ขนมขบเคี้ยว บรรทุกได้ถึง 5 กิโลกรัม นำของอุปโภค บริโภคให้กับผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ได้บรรเทาความหิวโหยในเบื้องต้น ทำให้เหตุการณ์หรือสถานการณ์ผ่อนคลายลงและผู้ที่เกี่ยวข้องทำงานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งไฟส่องสว่างที่ติดอยู่กับตัวหุ่นยนต์เป็นการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบโซล่าเซลล์ในการใช้พลังงานสีเขียว (Green Energy) เพื่อส่องสว่าง เมื่อเป็นเช่นนี้นวัตกรหุ่นยนต์นักข่าว “น้อง Mass (มวลชน) จากวัสดุเหลือใช้ที่ทีมงานนำกล่องที่ใส่สินค้าที่ไม่ใช้แล้วมาออกแบบสร้างสรรค์ เป็นต้นแบบในการพัฒนาหุ่นยนต์นักข่าวจากวัสดุเหลือใช้ที่สามารถพัฒนาต่อยอดด้านนวัตกรรมการใช้งานด้านการสื่อสารต่อไปได้ เป็นแบบอย่างในการลงมือปฏิบัติในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ที่ 7,12,15 และ 17 กิจกรรมในช่วงสุดท้ายผู้เข้าร่วมงานแถลงข่าวได้ทดลองและทดสอบการขับเคลื่อนนวัตกรหุ่นยนต์นักข่าวจากวัสดุเหลือใช้ “น้อง Mass (มวลชน) ด้วยความสนใจ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2566 ณ โพล คาเฟ่ ชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
เครดิตภาพ : นักศึกษาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชานิเทศศาสตร์นวัตกรรมและผู้ประกอบการธุรกิจ ร่วมกับช่างภาพกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต