คณะทำงานโครงการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร จังหวัดตรัง (Trang Gastronomy and Creative City) เพื่อเข้าร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์องค์การยูเนสโก โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังค์ริสา แสงจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ดร.ทรงศักดา ชยานุเคราะห์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษา ตรัง และอาจารย์จุฑามาศ เชาว์พิพัฒนะ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญกำกับแผนงานโครงการฯ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมขอคำปรึกษา เจรจา สร้างการรับรู้ โครงการฯ ดังกล่าว ระหว่างวันที่ 14 – 17 มีนาคม 2567 โดย วันที่ 14 มีนาคม 2567 เข้าพบวัฒนธรรมจังหวัดตรัง ชี้แจงโครงการฯ นำเสนอต่อสำนักงานจังหวัดตรัง เข้าพบนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ชี้แจงโครงการฯและการเข้าร่วมเครือข่ายร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์องค์การยูเนสโก ท่านนายกฯ แจ้งเลขาฯนำเข้าประชุม เพิ่มในวาระอื่นๆ เพื่อเข้าแผนของอบจ.เรื่อง Gastronomy UNESCO : นำเทศกาลอาหาร ร่วมกับเทศกาลอาหารยุทธจักรความอร่อย โดยการนำเรื่องราวอาหาร ชาติพันธุ์จีน 5 ภาษามาสู่จานอาหารพร้อมเรื่องราว Story Telling อาทิ ตามหาคนกวางตุ้ง ผู้ชายถนัดมือซ้ายทำอาหารเก่งที่สุดในโลก การฝึกความพยายามความอดทนในการต้มน้ำเปล่า จนมีทักษะไปสู่การทำอาหารที่เก่งระดับ จุมโพ่ หรือเชฟ และเข้าพบประธานหอการค้าจังหวัดตรัง ประธาน YEC และคณะกรรมการ ชี้แจงโครงการฯและการเข้าร่วมเครือข่ายร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์องค์การยูเนสโก วันที่ 15 มีนาคม 2567 เข้าพบนายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรัง และรองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรัง ชี้แจงโครงการฯและการเข้าร่วมเครือข่ายร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์องค์การยูเนสโก ท่านนายกฯ แจ้งอาจารย์จุฑามาศ เชาว์พิพัฒนะ ประสานสำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระทรวงมหาดไทยนำเสนอ การลงนาม MOU ระหว่างประเทศโดย เมืองกับเมือง และการแต่งตั้งผู้แทนสามารถลงนามในฐานะผู้แทนเมืองของประเทศ และร่วมศึกษาความเป็นไปได้การนำเทศกาลอาหารของเมืองตรัง การจัดตลาดตอนเย็น คลองห้วยยาง จังหวัดตรัง วันที่ 16 มีนาคม 2567 พบ ส.ส.ทวี สุระบาล และส.ส.ถนอมพงศ์ หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง วันที่ 17 มีนาคม 2567 เข้าพบ ส.ส.สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง พูดคุยเรื่องการขับเคลื่อนโดยเมืองเก่าทุ่งยาว และอำเภอย่านตาขาว ยินดีสนับสนุนไปสู่ UNESCO มุ่งตรัง เข้าสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหารขององค์การยูเนสโก