วันที่ 16-18 มิถุนายน 2566 งานการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการสถาบันขงจื่อ (ห้องเรียนขงจื่อ) ในประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตรเพื่อการพัฒนาสถาบันขงจื่อ และห้องเรียนขงจื่อแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดโดยสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ร่วมกับสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี การประชุมในครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในยุคดิจิทัลระหว่างประเทศ นำโดย ดร. พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฝ่ายบริหาร และประธานอำนวยการสถาบันขงจื่อฯ สุพรรณบุรี Mr.Zhao Lingshan รองประธานและเลขาธิการมูลนิธิการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ Mrs. Feng Junying ที่ปรึกษาด้านการศึกษาของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ศาสตราจารย์ Wang Huan เลขานุการเอกด้านการศึกษา ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อฝ่ายไทยและฝ่ายจีนประจำประเทศไทย และผู้สนใจเกี่ยวกับการศึกษาภาษาจีนระดับนานาชาติ เข้าร่วมการสัมมนาในรูปแบบไฮบริด โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ Zheng Chunping จากมหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง และศาสตราจารย์ Wu Yinghui จากมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้
ผศ.ดร. พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฝ่ายบริหารและประธานอำนวยการสถาบันขงจื่อฯ สุพรรณบุรี และ ดร.วารณี เวสสุนทรเทพ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยฝ่ายวิทยาเขตสุพรรณบุรี และกรรมการอำนวยการสถาบันขงจื่อฯ สุพรรณบุรี กล่าวรายงาน และอำนวยพรให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ตามความมุ่งหมายทุกประการ ซึ่งจะเป็นเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาการสอนภาษาจีนในประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ การศึกษาภาษาจีนเพื่อพัฒนาความสามารถไม่เพียงแต่จะปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยในโลกปัจจุบันเท่านั้นแต่ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย การวางแผนในการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ยังสามารถใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นสื่อในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของชาติ และถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ทำงานอย่างทุ่มเทเพื่อส่งเสริมการศึกษาภาษาจีนระหว่างประเทศ
Mr. Zhao Lingshan รองประธานและเลขาธิการมูลนิธิการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ กล่าวว่า มิตรภาพระหว่างจีนและไทยจะคงอยู่เสมือนเป็นพี่น้องกันตลอดไป โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนจีนครั้งที่ 50 และทรงนิพนธ์บทความ “จีนไทยพี่น้องกัน” ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ในโลกที่นำการศึกษาภาษาจีนไว้ในระบบการศึกษาของประเทศ ปัจจุบันมีโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในประเทศไทยมากกว่า 3,000 แห่งที่เปิดสอนหลักสูตรภาษาจีนและมีจำนวนผู้เรียนภาษาจีนในโรงเรียนมากกว่าหนึ่งล้านคน มากเป็นอันดับต้นของโลก นับตั้งแต่ก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรเพื่อการพัฒนาสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันศึกษา และแสวงหาการเปลี่ยนแปลงอย่างแข็งขัน มุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มใหม่สำหรับสถาบันขงจื่อในประเทศไทยเพื่อการสื่อสารและการพัฒนาอย่างใกล้ชิด ถือเป็นการสร้างสะพานสำหรับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-ไทย และความร่วมมือด้านการศึกษา หัวข้อของการประชุมนี้ครั้งมีความทันสมัยต่อสถานการณ์เป็นอย่างดี กระผมหวังว่าผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจะสามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ครอบคลุมเกี่ยวกับการเร่งพัฒนาความร่วมมือของสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อในประเทศไทย และผลักดันการพัฒนาปัญญาดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน
Mrs. Feng Junying ที่ปรึกษาการศึกษาของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยกล่าวว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาสังคมได้เข้าสู่”ยุคของปัญญาดิจิทัล” และในช่วงเวลานี้ เทคโนโลยีสารสนเทศยังคงพัฒนาไปสู่แนวโน้มของการแปลงเป็นดิจิทัล ระบบเครือข่าย และความเป็นอัจฉริยะ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อด้านต่าง ๆ ของสังคม การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นแนวโน้มในการพัฒนาประเทศทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังเป็นประเด็นสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่ออภิปรายเชิงลึกเกี่ยวกับความคืบหน้าใหม่ ความก้าวหน้าใหม่ และความสำเร็จใหม่ในการพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ และตั้งประเด็นใหม่ วิธีการใหม่ และแนวโน้มใหม่ในการพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ อีกทั้งยังช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ของการพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติได้อย่างถูกต้อง ปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิตอลได้ดีขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการเรียนการสอนภาษาจีนและสร้างระบบนิเวศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมการพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ
ศาสตราจารย์ Zheng Chunping บรรยายในหัวข้อ “การบูรณาการเทคโนโลยีใหม่กับการศึกษาภาษาในยุคแห่งปัญญาดิจิทัล” ซึ่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีปัญญาดิจิทัลของแอปพลิเคชันและแนวโน้มการวิจัยของเทคโนโลยีใหม่ในการศึกษาภาษา การแลกเปลี่ยนด้านต่าง ๆ เช่น การวิจัยตามสถานการณ์จริง และเน้นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ห้องเรียนเสมือนจริง เทคโนโลยีมัลติมีเดีย และระบบอื่น ๆ ทั้งยังได้แนะนำการออกแบบการเรียนการสอนและตัวอย่างการวิจัยของการศึกษาภาษาใน “ยุคปัญญาดิจิทัล” ซึ่งเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการปรับปรุงการเรียนการสอนและการวิจัยของการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ
ศาสตราจารย์ Wu Yinghui บรรยายในหัวข้อ “แนวโน้มการพัฒนาและอนาคตของปัญญาดิจิทัลในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ” ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ในยุคปัจจุบันของปัญญาดิจิทัลกับการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ ความสามารถทางดิจิทัลของการศึกษาจีนนานาชาติ การทำให้เป็นระบบอัจฉริยะเพื่อรองรับประเด็นเชิงกลยุทธ์ระดับชาติด้วย 5 ประเด็นหลักในการรับรู้ของปัญญาดิจิทัลในการศึกษาจีนนานาชาติ ที่วิเคราะห์ถึงรายละเอียดความหมายแฝงของการพัฒนาความสามารถทางดิจิทัลในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ และแนะนำปัญญาดิจิทัลที่เหมาะกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ให้กับผู้เข้าร่วมประชุม นอกจากนี้ ยังหารือถึงแนวโน้มการพัฒนาของปัญญาดิจิทัลในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ
หลังจากการบรรยาย ผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันหารือ เกี่ยวกับการสร้างข้อมูลการศึกษาภาษาจีนนานาชาติและการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาดิจิทัล และเสนอข้อเสนอแนะ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านดิจิทัลในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ
ความสำเร็จของการประชุมครั้งนี้ จะช่วยยกระดับความทันสมัยของการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ และส่งเสริมการพัฒนาปัญญาดิจิทัลในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติอย่างมีประสิทธิภาพ