มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้สูงวัย ผู้พิการและคนทุกคน ตามกฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการหรือทุพพล ภาพ และคนชรา ดังนี้คือ
ข้อที่ 1 ความเสมอภาค (Equitability) คือ ทุกคนในสังคมใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ เช่น การออกแบบสำหรับให้บริการผู้ที่ใช้รถเข็น (Wheel chair) หรือเด็กสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก โดยมีทางพื้นลาดและราวจับไว้เพื่อให้คนพิการหรือเด็กที่มีปัญหาเรื่องการเดินหรือเรื่องสายตาสามารถใช้ทางลาดเพื่อเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องก้าวเป็นขั้นบันไดเพราะมันอาจทำให้เกิดสะดุดพลาดล้มได้
ข้อที่ 2 ความยืดหยุ่น (Flexibility) รวมถึงขนาดและสถานที่ที่เหมาะสม (Appropriate size and space for approach) คือสามารถใช้พื้นที่ได้ตามสรีระของผู้ใช้งาน ได้แก่ ผู้ที่ถนัดซ้ายหรือขวา การปรับสภาพความสูงต่ำขึ้นลง ได้ตามความสูงของผู้ใช้ กล่าวคือไม่ว่าลักษณะทางกายภาพของผู้ใช้พื้นที่จะเป็นอย่างไรก็สามารถใช้งานได้ เช่น ห้องน้ำสำหรับคนพิการ ซึ่งไม่สามารถใช้ห้องน้ำแบบเดียวกับคนปกติได้ ด้วยเรื่องของพื้นที่ ความสะดวกสบาย ห้องน้ำคนพิการ จึงมักจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติเพื่อเป็นการเผื่อให้รถวีลแชร์สามารถเข้าไปได้ มีราวจับ และมีปุ่มกดฉุกเฉินเพื่อส่งสัญญาณเตือน หากเกิดอุบัติเหตุคนที่อยู่ด้านนอกสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ทัน
ข้อที่ 3 ความเรียบง่ายของข้อมูลเพื่อความเข้าใจได้ดี (Simplicity and Understanding) มีภาพหรือคําอธิบายที่เรียบง่ายสําหรับคนทุกประเภท ไม่ว่าจะมีความรู้ระดับไหนอ่านหนังสือออกหรือไม่ อ่านภาษาต่างประเทศได้หรือไม่ หรืออาจใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์สากลสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย เช่น สัญลักษณ์ห้องน้ำ สัญลักษณ์ที่จอดรถสำหรับคนพิการ โดยการเว้นพื้นที่โดยมีการทำเครื่องหมายเฉพาะเอาไว้ให้ในบริเวณที่จะทำให้คนพิการสะดวกต่อการใช้บริการภายในมหาวิทยาลัย
ข้อที่ 4 ความปลอดภัยต่อเหตุอันตราย (Safety) เช่น มีระบบป้องกันหรือแจ้งเตือนอันตราย เช่น พื้นผิวต่างสัมผัสเดือน (Warning Tile) มีลักษณะเป็นปุ่มวงกลมนูนต่ําจัดเรียงเป็นแถวเต็มพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสของพื้นผิวเพื่อเตือนให้ระวัง เช่น บริเวณเริ่มและสิ้นสุดบันได บริเวณที่ประตูเปิดและทางข้าม ผิวสัมผัสเฉพาะนี้จะทำให้คนพิการทาง สายตารับรู้ได้ว่าเขาสามารถเดินไปทางไหนได้ หรือทางไหนควรระวัง
ข้อที่ 5 ทุ่นแรงกาย สะดวกและไม่ต้องออกแรงมาก (Energy conservation) เช่น ใช้การกดเบาๆ ก็สามารถทํางานได้แทนสวิตช์เล็กที่ต้องใช้นิ้วมือออกแรงงัดอย่างแรง ได้แก่ การกดปุ่มลิฟต์ เป็นต้น
จากการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่สร้างสรรค์อย่างเพียงพอ โดยคำนึงถึงการเข้าถึงและใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันของคนทุกกลุ่มตามหลัก Universal design ส่งผลให้นักศึกษาที่พิการและบกพร่องของมหาวิทยาลัย สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะทั้งทางร่างกายและจิตใจได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 186 คน รวมทั้งนักศึกษาทั่วไป เจ้าหน้าที่ อาจารย์ และประชาชนทั่วไป จำนวน 15,000 คน เหตุผลความจำเป็น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาพิเศษ รวมทั้งได้ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา เพื่อเปิดโอกาสและให้บริการ ทางการศึกษาที่เท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้เกิดความเสมอ ภาคและเป็นธรรมในสังคม โดยมหาวิทยาลัยมีจำนวนนักเรียนและนักศึกษาพิการ เรียนร่วม จำนวน 186 คน รวมทั้งมีบุคลการผู้พิการ จำนวน 17 คน ดังนั้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวสามารถศึกษาเล่าเรียนและใช้ ชีวิตได้อย่างมีความสุขตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุงอาคารสถานที่ พัฒนาระบบนิเวศทางการศึกษา และสิ่ง อำนวยความสะดวกในอาคาร เช่น ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวก ทางลาดและลิฟต์ ราวจับ ห้องน้ำ ประตู ที่จอดรถ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจัดให้มีบุคลากร เทคโนโลยี ครุภัณฑ์ทางการศึกษา และห้องปฏิบัติการที่ช่วย สนับสนุนในการจัดการศึกษาพิเศษด้วย เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาพิการได้มีทักษะ ในการดำรงชีวิตควบคู่กับการ สร้างคุณธรรม จริยธรรม เป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ประกอบอาชีพ พึ่งพาตนเองและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติได้ รวมทั้งมีสถานที่ที่พร้อม สำหรับรองรับ และเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงวัย นักศึกษาทั่วไป เจ้าหน้าที่ อาจารย์ และประชาชน ทั่วไป โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ต่าง ๆ แล้วเสร็จ ส่งผลให้นักเรียน นักศึกษา จำนวนรวม 220 คน รวมถึงผู้ที่เข้าใช้บริการพื้นที่ในมหาวิทยาลัยทุกคน สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างสะดวกและ ปลอดภัย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญของนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรที่มีความบกพร่อง ภายในมหาวิทยาลัย