Get to Know OWL

วิสัยทัศน์ที่มองก้าวข้ามขีดจํากัดของสถานที่หรือพื้นที่การเรียนรู้ที่ยึดติดแต่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมในยุคปัจจุบัน การเรียนรู้ไม่ควรถูกจํากัดเพียงแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอย่างเช่นห้องสมุดเสมือนหรือห้องเรียน หรือสื่อต่าง ๆ ควรปรับให้เข้ากับสิ่งรอบตัวที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ตลอดเวลาการเรียนรู้จากพื้นที่ทุกพื้นที่ถือว่า เป็นประสบการณ์ที่ทําให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

ห้องสมุดที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายรปู แบบ โดยใช้การบูรณาการร่วมกันบนพื้นที่ ต่อเนื่องเชื่อมโยงที่เน้นการออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการกให้บริการ (Environment Design for Learning and Services) เพื่อนำไปสู่รูปแบบของการการจัดการเรียนการสอนจากสถานที่ (Place-based Learning: PBL)

OWL จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบบนมาตรฐานความเข้มแข็งทางวิชาการของตนเอง โดยมีเป้าหมายในการจัดทำระหว่างปี พ.ศ.2565-2567 สู่ความสำเร็จของการพัฒนาคือ One World Library to the University

รศ.ดร. ศิโรจน์ ผลพันธิน,2566: 5,8,10

สิ่งอำนวยความสะดวกของ OWLจะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ที่ผู้ใช้เข้าใช้บริการ เช่น

  • พื้นที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ OWL ก็จะมีห้องอ่านหนังสือ ห้องประชุมสัมมนา The Library cafe’ ห้องพักผ่อน และบริการ Wi-fi
  • Cafe’ By Home ให้บริการอาหาร เครื่องดื่มชา-กาแฟ น้ำผลไม้ ขนมเค้ก ห้องประชุมกลุ่มย่อย
  • Poll cafe’ ให้บริการ เครื่องดื่มชา-กาแฟ น้ำผลไม้ ขนมเค้ก ห้องประชุมกลุ่มย่อย พื้นที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้/สัมพันธภาพ
  • ฟิตเนส เซนเตอร์ ให้บริการพื้นที่ออกกำลังกายพร้อมอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ทันสมัย ฯลฯ

การจัดกิจกรรมบนพื้นที่ OWL สามารถดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปแต่ละบริบทของพื้นที่ ที่ผู้ใช้เข้าใช้บริการ เนื่องจากแต่ละพื้นที่ OWL มีบทบาทหน้าที่และจุดขายที่ไม่เหมือนกันดังนั้น การจัดกิจกรรมใดๆต้องพิจารรณาเลือกใช้พื้นที่ OWLให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จะจัดเช่น

  • นักศึกษา ครู/ อาจารย์ และบุคลากร อาจจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีต่อกันบน Cafe’ Library ทั้ง 13 แห่ง
  • องค์กร/บริษัท อาจสนใจเข้าใช้บริการห้องประชุมสัมมนาบนพื้นที่ให้บริการของศูนย์พัฒนาทุนมนุษญืที่มีห้องประชุมที่รองรับผู้เข้าประชุมทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก
  • องค์กร / บริษัท อาจสนใจเข้าใช้บริการห้อง Computer lab บนพื้นที่ให้บริการของสำนักกิจวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศฯลฯ

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีหน้าที่รับใช้สังคมและชุมชน ด้วยการให้บริการเชิงวิชาการและธุรกิจวิชาการดังนั้น ตัวอย่างบริการขแง OWL เช่น

  • การจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี โดยเน้น 4 สาขาวิชาที่เป็นอัตลักษณ์ ได้แก่ปฐมวัย การเรือน ท่องเที่ยงและบริการ พยาบาลและสุขภาวะ
  • โรงแรมสวนดุสิตเพลส บริการที่พักและแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรม
  • ศูนย์บริการทดสอบทางวิชาการสวนดุสิต บริการออกข้อสอบ จัดทำข้อสอบ และจัดสอบให้กับองค์กรต่างๆ
  • Cafe’ Library บริการหลักๆคือ เครื่องดื่ม ชา- กาแห น้ำผลไม้ ขนมเค้า นอกจากนี้ บางคาเฟ่จะมีห้องประชุมกลุ่มย่อย พื้นที่จัดกิจกรรม  และการให้ความรู้เกี่ยวกับกาแฟสำหรับผู้ใช้บริการอีกด้วย
  • Home Bakery สถานที่ผลิตและจำหน่ายขนมอบ ฯลฯ

ทุกคนสามารถเข้าใช้บริการพื้นที่ OWL ได้ เนื่องจากพื้นที่ให้บริการมีความหลากหลาย ผู้เข้าใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการได้ตามความต้องการ ความชอบ และความสนใจ เช่น

  • นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สามารถเข้าใช้บริการพื้นที่ ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักกิจการพิเศษ เช่น ฟิตเนสเซนเตอร์ สระว่ายน้ำ ห้องอาหารดุสิตา ครัวสวนดุสิต หรือ 189 คาเฟ่ ของศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ เป็นต้น
  • นักท่องเที่ยว สามารถเข้าใช้บริการโรงแรมสวนดุสิตเพลส ดุสิตนวดแผนไทย Coffee Jazz เป็นต้น
  • บุคคลทั่วไป สามารถเข้ามาเลือกสินค้าและบริการจาก Home bakeryได้ ฯลฯ

One world Library หรือ OWL แตกต่างจากห้องสมุดในต่างประเทศคือOWL เป็นการบูรณาการพื้นที่ใช้สอย

ทั่วทั้งมหาวิทยาลัยสวนดุสิตให้เชือ่มโยงกัน เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดเชิงพื้นที่และมองว่า การเรียนรู้ไม่ควรถูกจำกัดเพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น อย่างเช่น ห้องเรียนหรือ ห้องสมุดเสมือน หรือสื่อต่างๆ  กล่าวได้ว่า พื้นที่การเรียนรู้ภายในรอบรั้วมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เริ่มตั้งแต่การก้าวเข้าสู่ประตูสวนดุสิตเข้ามา และเชื่อมโยงไปยังจุดต่างๆทั่วมหาวิทยาลัย รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ถ้าเริ่มจากประตู 5 ก็อาจเรียนรู้เรื่องกำแพงรั้วมหาวิทยาลัย ความเป็นมาของอาคาร 1  สระมรกต Food Street ต้นไม้ในสวนดุสิต ชื่ออาคาร สถานที่ หรือ พื้นที่แต่ละแห่ง เป็นต้นฯลฯ

การคิดค่าบริการขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ให้บริการ ซึ่งบางพื้นที่ก็จะไม่คิดค่าบริการ

ระเบียบข้อบังคับ / ข้อจำกัดในการใช้ OWL จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ให้บริการ

วันและเวลาให้บริการของ OWL มีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ให้บริการ เช่น

  • Cafe’ By Home เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.15-18.00 น.
  • ห้องพัก โรงแรมสวนดุสิตเพลส เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ทุกวัน
  • ห้องอาหาร ครัวสวนดุสิต อาคาร 11 และ 12 เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00-17.00 น.
  • ศูนย์ บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์ เปิดบริการ วันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น.
  • สวนดุสิตโพล เปิดบริการวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น.

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการให้บริการบน OWL มีความแตกต่างและหลากหลายขึ้นอยู่กับ บริบทของพื้นที่ให้บริการ เช่น

  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่เป็นจุดศูนย์กลางของ OWL จะมี SDU MOOC WBSC แพลตฟอร์มการศึกษาพิเศษ ( Special Education Platforms) AR  ภาษามือ เป็นต้น
  • สวนดุสิตโพล ใช้โปรแกรมวิจัยตลาดที่มีชื่อเสียงระดับสาดลคือ MRDCL ฯลฯ

OWL เป็นการบูรณาการพื้นที่ใช้สอยทั่วทั้งมหาวิทยาลัยสวนดุสิตให้เเชื่อมโยงกัน เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดเชิงพื้นที่และมองว่าการเรียนรู้ไม่ควรถูกจำกัดเพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น อย่างเช่นห้องเรียนหรือห้องสมุดเสมือน หรือ สื่อต่างๆ ดังนั้น ในการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมจึงตั้งอยู่บนมาตรฐานของความเป็นสวนดุสิต เน้นให้ทุกพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นพื้นที่จักิจกรรมได้กลากลาย สามารถตอบสนองความต้องการทุกคนภายใต้การบูรณาการเชื่อมโยงพื้นที่เข้าหากันเช่น

  • การเสร้างห้องสมุดเดิม สู่ Virtual library ผนวกกับสำนักวิทยบริการฯ เชือมต่อกับอาคาร 11 ที่มีห้องคอมพิวเตอร์ เป็นการบูรณาการพื้นที่ร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงทุกพื้นที่ให้สามารถเรียนรู้ได้ในทุกจุด
  • ภาพอนาคตที่วางไว้คือ ทุกพื้นที่ของสวนดุสิตคือแหล่งเรียนรู้

รศ.ดร. ศิโรจน์ ผลพันธิน,2566:8-9

  • OWL ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ในทุกพื้นที่ทั้งแบบกายภาพและดิจิทัล เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ทั้งแบบกว้างและแบบลึก และเป็นการบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการได้หลากหลายและชัดเจนมากกว่า
  • บุคลากร นักศึกษา และ บุคคลทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของOWL มีบริการด้านฐานข้อมูล งานวิจัย และหนังสือตำรา อาทิ

  • วารสารวิจัยของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (SDU e-Journals)
  • วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต (Suan Dusit Graduate School Academic Journal)
  • บริการฐานข้อมูลออนไลน์ (Database for Research)
  • บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือพูดคุยระหว่างนักวิจัยทำให้มีการถ่ายทอดหรือแบ่งปันประสบการณ์การทำวิจัยหรือความรู้ต่างๆซึ่งกันและกัน https//www.dusit.ac.th/home/learning-resources

สิ่งอำนวยความสะดวกของ OWLจะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ที่ผู้ใช้เข้าใช้บริการ เช่น

  • พื้นที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ OWL ก็จะมีห้องอ่านหนังสือ ห้องประชุมสัมมนา
  • The Library cafe’ ห้องพักผ่อน และบริการ Wi-fi
  • Cafe’ By Home ให้บริการอาหาร เครื่องดื่มชา-กาแฟ น้ำผลไม้ ขนมเค้ก ห้องประชุมกลุ่มย่อย
  • Poll cafe’ ให้บริการ เครื่องดื่มชา-กาแฟ น้ำผลไม้ ขนมเค้ก ห้องประชุมกลุ่มย่อย พื้นที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้/สัมพันธภาพ
  • ฟิตเนส เซนเตอร์ ให้บริการพื้นที่ออกกำลังกายพร้อมอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ทันสมัย ฯลฯ

สำนักวิทยบริการฯ  ซึ่งเป็นซึ่งเป็นศูนย์กลางของ OWL มีบริการยืมคืนหนังสือทั้งแบบเล่มปกติและรูปแบบออนไลน์  มีบริการช่วยยืมหนังสือระหว่างศูนย์การศึกษาของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ การยืมจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆในเครือข่าย  และบริการยืม/คืน  e-book ผ่านแอปพลิเคชั่น CU-elibrary  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่  02-2445319  02-244-5321

OWL เป็นสถานที่ฝึกงานและอาจสร้างรายได้ให้กับนักศึกษาในรูปแบบของสหกิจศึกษา ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของพืน้ที่ให้บริการในแต่ละแห่งด้วย เช่น

  • นักศึกษาหรือบุคคลใด ที่สนใจเรื่องการชงกาแฟ ก็สามารถขอเข้าฝึกเรียนรู้ได้ที่ Cafe’ Library ซึ่งอาจจะไม่มีรายได้ เป็นตัวเงินแต่ได้เป็นองค์ความรู้ที่จะนำไปสร้างอาชีพและรายได้เสริมในวันข้างหน้า
  • นักศึกษาที่สนใจฝึกสอนที่โรงเรียนสาธิตละอออุทิศก็จะมีรายได้เป็นรายเดือน และอาจได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยต่อไป ฯลฯ

เจ้าหน้าที่บริการตามพื้นที่ให้บริการในจุดต่างๆ  ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับื้นที่ให้บริการนั้นๆเป็นอย่างดี และสามารถเชื่อมโยงไปยังพื้นที่ให้บริการในจุดอื่นๆได้ด้วย

การจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพและเสมือนที่สร้างให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคใหม่ที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์มากกว่าการอ่านจากหนังสือ โดยเน้นการออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการให้บริการ(Environment Design for Learning and Services) เพื่อการนำไปสู่รูปแบบของการจัดการเรียนรู้จากสถานที่ (Place-based Learning: PBL)

รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน,2566:8

ศูนย์กลางของ OWL คือ  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ OWL นั้น จะครอบคลุมพื้นที่ทุกแห่งทั่วทั้งมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ครอบคลุมไปยังทุกพื้นที่ของวิทยาเขตและศูนย์การศึกษาทุกแห่งของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็น Floor Supervisor (FS) เช่น

  1. รู้จักตนเอง มีความรับผิดชอบ
  2. รู้จักผู้ใช้บริการ ตลอดจนความต้องการต่างๆ ของผู้ใช้บริการ
  3. รู้จักวิธีสร้างความประทับใจในการบริการ
  4. มีบุคลิกภาพแบบชอบสังคม(Social)

นอกจากนี้ FS ควรมีทักษะด้านการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์ และมีวิจารณญาณในการคิดและการตัดสินใจ ทั้งต้องสวมบทบาทเป็นนักการศึกษา ผู้สนับสนุน โค้ช ที่ปรึกษาและผู้บริการลูกค้า