นวัตกรรมการขับเคลื่อนเมืองสู่เมืองแห่งการเรียนรู้เชื่อมโยงการพัฒนาในทุกมิติอย่างยั่งยืน

การวิจัยการพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหากลไกในการบริหารจัดการ สร้างกระบวนการขับเคลื่อนและเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่งรูปแบบแนวทางการพัฒนาเพื่อเป็นฐานในการต่อยอดในการพัฒนาลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ในมิติต่าง ๆ รวมทั้งได้พื้นที่นำร่องเพื่อการศึกษาและเป็นต้นแบบในการขยายพื้นที่การเรียนรู้ในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วม และพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ของเมือง (Learning Space) ในย่านเมืองสำคัญของลำปาง และสร้างแบรนด์อัตลักษณ์เมืองลำปางให้เป็นที่รู้จักและสร้างเสน่ห์ทางการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นและคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในการศึกษาประกอบด้วย โครงการย่อยจำนวน 3 โครงการ คือ

          1) โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรม
โดยกระบวนการมีส่วนร่วม

          2) โครงการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย

          3) โครงการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และกระบวนการสร้างคุณค่าจากทุนทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยเสน่ห์ทางการท่องเที่ยววิถีชีวิตย่านท่ามะโอ

          โดยในแต่ละโครงการมีการกำหนดเครื่องมือในการวิจัยที่หลากหลาย ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสารจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Research) ทั้งโดยการสำรวจพื้นที่จริง การจัดเวทีประชาคม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประชุมเชิงปฏิบัติการ สนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมทั้งเวทีวิพากษ์เพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูล มีกระบวนการสังเคราะห์ วิเคราะห์ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยมีกระบวนการที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาและพัฒนาระบบและกลไกในการขับเคลื่อนจังหวัดลำปางไปสู่รูปแบบการพัฒนาเมืองอย่างมีหลักประกันเรื่องคุณภาพ ความครอบคลุม และการสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การเติบโตของเมืองที่ยั่งยืนและตรงตามความต้องการของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองลำปาง และเกิดการปรับเปลี่ยนให้ลำปางเป็น “เมืองแห่งการเรียนรู้”อย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การบริหารจัดการเมืองลำปางที่มีความเจริญก้าวหน้า ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นการเติบโตของเมืองลำปางอย่างยั่งยืน โดยสรุปผลการวิจัยใน 3 ประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1 วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาระบบและกลไกในการพัฒนาเมืองแห่ง
การเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วม

          ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบและกลไกเมืองแห่งการเรียนรู้ เริ่มด้วยกระบวนการสร้างเครือข่ายลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ จัดเวทีเสวนา Lampang Learning City สร้างความรู้ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการนำเสนอแนวคิดการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ “สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หรือ UNESCO Institute for Lifelong Learning (UIL) กิจกรรม Lampang Talk Series กิจกรรม LAMPANG SHOWCASE รูปแบบออนไลน์ แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่ง
การเรียนรู้  วิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมของจังหวัด เพื่อกำหนดกรอบทิศทางในการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงานโครงการ กิจกรรมภายใต้กรอบทิศทางในการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน และจัดทำแผนแม่บทในการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ จากการวิจัยได้ข้อสรุประบบและกลไกในการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

        1.1 ระบบและกลไกในการศึกษาท้องถิ่น (Local Study) การศึกษาท้องถิ่น (Local Study) พบว่าระบบและกลไกในการศึกษาท้องถิ่น (Local Study) ที่ให้ความสำคัญทั้งเชิงคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ มนุษย์และสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงต่อเนื่องอดีต ปัจจุบันและอนาคต วิเคราะห์จากภูมิหลังสู่ภูมิอนาคตเพื่อกำหนดทิศทางพัฒนาเมืองบนฐานขององค์ความรู้ (Historical Future Study) เป็นระบบและกลไกของการขับเคลื่อนการศึกษาท้องถิ่น (Local Study) ที่เป็นระบบ มีกระบวนการขั้นตอนที่ชัดเจน และมีความครอบคลุมมิติของการศึกษา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้เป็นฐานสำหรับการวิเคราะห์ในเชิงอนาคตศึกษาเพื่อพัฒนาเป้าหมายหรือภาพอนาคตของเมืองร่วมกัน

1.2 พัฒนาระบบและกลไกในการขับเคลื่อนเมืองแห่งลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐาน
ภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
ในการพัฒนาระบบและกลไกเมืองแห่ง
การเรียนรู้ได้กำหนดกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกันผ่านกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายในหลากหลายรูปแบบ โดยแต่ละเครือข่ายได้ดำเนินการขับเคลื่อนในบทบาทของตนเองและสอดคล้องกับแนวทางในการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่เครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคมขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระบวนการวิจัยได้ใช้กลไกในการขับเคลื่อนและการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้แบบคู่ขนาน โดยในกระบวนการวิจัยจะทำงานคู่กับการดำเนินงานของทุกเครือข่ายด้วยกระบวนการบูรณาการแผนงาน โครงการ กิจกรรมร่วมกันเพื่อนำไปสู่วิสัยทันศ์ร่วมกันของทุกภาคส่วน

จากการขับเคลื่อนในรูปแบบดังกล่าวนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมในที่ตอบเป้าหมายเมืองแห่งการเมืองแห่งการเรียนรู้ในหลากหลายมิติคือเกิดระบบและกลไกการทำงานรูปแบบเครือข่ายในการพัฒนาเมือง คณะทำงานร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมที่เชื่อมโยงและสนับสนุนเมืองแห่งการเรียนรู้ เกิดภาพอนาคตและทิศทางการพัฒนาร่วมกันของเมือง ในการขับเคลื่อนการพัฒนาลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้
โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้วิสัยทัศน์จังหวัด “ลำปางเมืองแห่ง
การเรียนรู้ สร้างสรรค์ น่าอยู่ ยั่งยืน”
โดยเน้นกระบวนการพัฒนาจังหวัดบนฐานของความรู้ ต่อยอดสร้างคุณค่าทางสังคมและสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศรษฐกิจจากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์และสร้างดุลยภาพในการพัฒนาทุกมิติ และกำหนดเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของเทศบาลนครลำปาง ภายใต้วิสัยทัศน์ “เมืองลำปางเป็นบ้านที่มีความสุขของทุกคน” “A happy home for all” เมืองน่าอยู่ เรียนรู้ นวัตกรรม สร้างสรรค์ ยั่งยืน ในยุทธศาสตร์ที่ 2 : ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยเพื่อไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้และคนคุณภาพ (City of learning and quality people) เน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการพัฒนาการเรียนรู้และเปิดพื้นที่
การเรียนรู้ของเมืองในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งปรับปรุงระบบนิเวศน์พื้นที่สาธารณะของเมืองที่เอื้อต่อ
การเรียนรู้และการใช้ชีวิต โครงการการกำหนดแผนงานโครงการไว้อย่างชัดเจนพร้อมนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

          จากการขับเคลื่อนในรูปแบบดังกล่าวนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมในที่ตอบเป้าหมายเมืองแห่งการเมืองแห่งการเรียนรู้ในหลากหลายมิติ คือ

1)  เกิดระบบและกลไกการทำงานรูปแบบเครือข่ายในการพัฒนาเมือง คณะทำงานร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมที่เชื่อมโยงและสนับสนุนเมืองแห่งการเรียนรู้

          2)  เกิดภาพอนาคตและทิศทางการพัฒนาร่วมกันของเมือง ในการขับเคลื่อนการพัฒนาลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม

          2.1) การขับเคลื่อนลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ ถูกกำหนดไว้ในวิสัยทัศน์จังหวัดลำปาง ในการดำเนินงานของเครือข่ายได้สนับสนุนแนวคิดเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัดและปรับวิสัยทัศน์และทิศทางในการพัฒนาจาก “ลำปางเมืองน่าอยู่ นครแห่งความสุข” เป็น “ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ น่าอยู่ ยั่งยืน”
โดยเน้นกระบวนการพัฒนาจังหวัดบนฐานของความรู้ ต่อยอดสร้างคุณค่าทางสังคมและสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศรษฐกิจจากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์และสร้างดุลยภาพในการพัฒนาทุกมิติ

2.2)  การขับเคลื่อนลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ ถูกกำหนดเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของเทศบาลนครลำปาง ภายใต้วิสัยทัศน์ “เมืองลำปางเป็นบ้านที่มีความสุขของทุกคน” “A happy home for all”
เมืองน่าอยู่ เรียนรู้ นวัตกรรม สร้างสรรค์ ยั่งยืน ในยุทธศาสตร์ที่ 2 : ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพ
คนทุกช่วงวัยเพื่อไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้และคนคุณภาพ (City of learning and quality people)
เน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการพัฒนา
การเรียนรู้และเปิดพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งปรับปรุงระบบนิเวศน์พื้นที่สาธารณะของเมืองที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิต โครงการการกำหนดแผนงานโครงการไว้อย่างชัดเจนพร้อมนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

          ประเด็นที่ 2 พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ของเมือง (Learning Space) ในย่านเมืองสำคัญของลำปางในการยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นและคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม

          2.1 การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย โดยเริ่มจากกระบวนการ จัดทำ
แผนที่ความรู้ (Knowledge Map) และจัดการความรู้ฐานทุนทางสังคมวัฒนธรรมย่านสบตุ๋ย
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “สบตุ๋ยย่านเศรษฐกิจสำคัญลำปางกับพัฒนาการและการธำรงอยู่” การจัดกิจกรรมเวทีสาธารณะ (Lampang Public Forum) สบตุ๋ยในมุมมองจากภูมิหลังสู่ภูมิอนาคต ออกแบบและจัดกิจกรรมพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกำหนดรูปแบบและออกแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิตลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์เชิงลึก ออกแบบสื่อ จัดนิทรรศการ จัดกิจกรรม สื่อประชาสัมพันธ์ และจัดทำเส้นทางพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย จัดทำระบบฐานข้อมูล Open Data พิพิธภัณฑ์มีชีวิต และสื่อการเรียนรู้รูปแบบดิจิทัล รวมทั้งออกแบบงานภูมิสถาปัตย์ พื้นที่ทางสังคม และพื้นที่สาธารณะเชื่อมโยงพื้นที่เรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ กิจกรรมที่ SDU Learning space เปิดพื้นที่การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดกิจกรรมและรูปแบบการเรียนรู้ ครอบคลุมคุณลักษณะสำคัญที่จะนำไปสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ 6 ประการ ประกอบด้วยกิจกรรมตลาดนัดการเรียนรู้คนสามวัย (3GEN)/ SDU Library Park/ SDU Learning space For all กิจกรรมการพัฒนาทักษะและอาชีพเพื่อการเรียนรู้เพื่ออนาคต เป้าหมายสุดท้ายของงานวิจัยเพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Map สบตุ๋ย ข้อมูลบุคคล ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ฐานข้อมูลสถิติ ด้านเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม ฐานความรู้ชุด 5 ภูมิวัฒนธรรม เกิดพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์กินได้ อาหารในตำนานย่านสบตุ๋ย/พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านเก่าเล่าความหลัง/พิพิธภัณฑ์ถนนความรู้ (เรียนรู้วิถีชีวิต ผู้คนและแหล่งเรียนรู้ย่าน) และระบบฐานข้อมูล Open Data พิพิธภัณฑ์มีชีวิต เพื่อให้พื้นที่เกิดการเรียนรู้เกิดแหล่งท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเดิมเพื่อยกระดับและสร้างเสน่ห์ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนย่านสบตุ๋ยและเศรษฐกิจชุมชนและจังหวัด

          2.2 พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และกระบวนการสร้างคุณค่าจากทุนทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยเสน่ห์ทางการท่องเที่ยววิถีชีวิตย่านท่ามะโอ โดยเริ่มจากกระบวนการศึกษาฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมผ่าน 5 ภูมิวัฒนธรรมของย่านท่ามะโอและจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมจากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมของย่านท่ามะโอ (CULTURAL KNOWLEDGE MAP) พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และกระบวนการสร้างคุณค่าจากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมย่านท่ามะโอ รูปแบบการบริหารจัดการ รูปแบบการจัดกิจกรรม และปฏิทินการจัดกิจกรรม  จัดกิจกรรม “ข่วงผญ่าภูมิปัญญาท่ามะโอ” เปิดพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ “นิทรรศการหมุนเวียนบ้านหลุยส์” เป้าหมายสุดท้ายเพื่อพัฒนา AR Tourism Guide Book สร้างเสน่ห์ทางการท่องเที่ยวชุมชนท่ามะโอและมูลค่าเพิ่มทางเศณษฐกิจ สร้างกลไกการพัฒนาชุมชนพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืนสร้างอาชีพและรายได้ต่อยอดจากกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมตลาดชุมชนโดยสร้างโมเดลการพัฒนาชุมชนโดยคนในชุมชนในรูปแบบ Social Enterprise

ประเด็นที่ 3  สร้างแบรนด์อัตลักษณ์เมืองลำปางให้เป็นที่รู้จักและสร้างเสน่ห์ทางการท่องเที่ยว

          การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม มีเป้าหมายสำคัญ
อีกประการหนึ่งคือการเกิดแบรนด์อัตลักษณ์เมืองลำปางที่เป็นที่รู้จัก เกิดภาพลักษณ์ของเมืองใหม่ที่มีเสน่ห์แห่งวิถีเมืองลำปาง คนลำปาง เมืองแห่งการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์บนฐานของภูมิทางสังคมวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่เส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเดิมเพื่อยกระดับและสร้างเสน่ห์ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น จากการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
ทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสนับสนุนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจชุมชนและจังหวัด

          จากกรอบการวิจัยที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา พัฒนา ต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรมที่สร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นและคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ และเพื่อสร้างแบรนด์อัตลักษณ์เมืองลำปางให้เป็นที่รู้จักและสร้างเสน่ห์ทางการท่องเที่ยวในหลากหลายมิติ ประกอบด้วย

          3.1 จิบชานั่งรถม้าชมเมือง เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนพบปัญหาที่เกิดขึ้นของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ของกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ประกอบการรถม้าในพื้นที่ที่ขาดรายได้ นักวิจัยและชุมชนจึงร่วมกันออกแบบกิจกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหา ซี่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจ มีการขยายผลต่อยอดและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ร้านค้า ผู้ประกอบการรถม้ามีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดกระแสการอนุรักษ์และสร้างเสน่ห์ทางการท่องเที่ยวของลำปาง

          3.2 กองคราฟท์ ณ กองต้า เป็นกิจกรรมที่เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพื้นที่ที่อยากเห็นลำปางเกิดกลุ่มคนทำงานคราฟท์เพิ่มขึ้น ประกอบกับผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เด็กรุ่นใหม่หรือคนทำงานต่างพื้นที่ตกงานและเดินทางกลับบ้าน นักวิจัยและชุมชนจึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรม กองคราฟท์ ซึ่งเป็นตลาดงานคราฟท์แห่งแรกของลำปาง และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วเกิดกระแสการตอบรับจากคนรุ่นใหม่ กลายเป็นจุดเช็คอินแห่งใหม่ของลำปางที่สร้างเสน่ห์ทางการท่องเที่ยวและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

          3.3 ครั่งรักษ์ลำปาง เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้อัตลักษณ์พื้นที่ ที่นำมาสู่การต่อยอดเชิงสร้างสร้างสรรค์ ลำปางเป็นแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์จากครั่งที่ใหญ่ที่สุด เจ้าแรกและเจ้าเดียวในประเทศไทย โดยมีประเภทของสินค้าคือ ครั่งเม็ดแปรรูป และ สีผสมอาหาร สกัดจากครั่งธรรมชาติ และการผลิต แชลแล็คขาวชนิด Bleached Shellac (Dewaxed) เกรดอุตสาหกรรมอาหารและยา ส่งจำหน่วยทั่วโลก ซึ่งทีมวิจัยได้นำผลิตภัณฑ์จากครั่งมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในหลากหลายรูปแบบเพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนพื้นที่

          จากผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการวิจัยจะพบว่าการดำเนินงานดังกล่าวก่อให้เกิดกระบวนการสร้าง
แบรนด์อัตลักษณ์เมืองลำปางผ่านกลไกในการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ใน 3 กระบวนการ

1) เกิดกระบวนการเสริมความเข้มแข็งของแบรนด์ (To Strengthen Brand) แบรนด์ อัตลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักของลำปางคือ รถม้า ซึ่งถือเป็นแบรนด์ที่ยังขายได้แต่ขาดกระบวนการพัฒนา และ การต่อยอดในการเชื่อมโยงในมิติต่างของพื้นที่ในเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้นต้องมีกระบวนการเสริมความเข้มแข็งของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง กิจกรรมจิบชานั่งรถม้าชมเมือง จึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ในการเสริมแบรนด์ให้เข้มแข็ง ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในการต่อยอดกิจกรรมอื่นๆได้
2) เกิดกระบวนการปรับแบรนด์ (Rebranding) ลำปางมีทุนทางสังคมวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะสินค้าเชิงวัฒนธรรมทั้งสินค้าชุมชน หัตถอุสากรรม เซรามิค อาหาร เครื่องแต่งกาย แต่ด้วยบริบทการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคก็ปรับเปลี่ยน ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่อาจไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค จึงมีความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าให้มีความหลากและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน กิจกรรมส่งเสริมคนคราฟต์และตลาดคราฟต์ให้เกิดขึ้นในแห่งแรกของลำปาง จึงถือเป็นกระบวนการปรับแบรนด์ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาในพื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดได้
3) เกิดกระบวนการสร้างแบรนด์ (Brand Building) ลำปางเป็นเมืองที่มีประวัติอันยาวนานเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน เป็นเมืองพหุวัฒนธรรม มีเรื่องราวที่สามารถค้นหาเพื่อสร้างแบรนด์อัตลักษณ์ของลำปางเพื่อให้ผู้คนรู้จัก และสร้างเสน่ห์ในการท่องเที่ยวและเรียนรู้ กิจกรรมครั่งรักษ์ลำปาง จึงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้สร้างแบรนด์อัตลักษณ์ใหม่ของลำปาง จากกระบวนการที่ขับเคลื่อนในงานวิจัย

นำไปสู่การพัฒนาในภาพรวมของจังหวัด และจังหวัดลำปางให้มีประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม 2565 ให้สีครั่งเป็นหนึ่งในสีอัตลักษณ์ของลำปาง และลายละกอนใส้หมูเป็นลายผ้าอัตลักษณ์ของลำปางซึ่งเป็นกระบวนการขับเคลื่อนในการสร้างอัตลักษณ์ของเครือข่ายวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง ในการส่งเสริมต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฐานทุนทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มในทางเศรษฐกิจ ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่

Lampang Learning City การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม

หัวหน้าโครงการวิจัย: ดร.ขวัญนภา  สุขคร

สนับสนุนโดย : กองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วย บพท.

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

https://lampang.dusit.ac.th/lampanglearningcity/

https://www.dusit.ac.th/2021/917541.html

https://www.dusit.ac.th/2021/935121.html

https://www.facebook.com/Lampanglearningcity?_rdc=1&_rdr

แหล่งที่มา

https://sdg.dusit.ac.th/2022/1835/