One World Library คือ ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านยุคห้องสมุดของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตจากจุดเริ่มต้นที่นักศึกษาถูกกำหนดให้ค้นคว้าแต่ภายในห้องเท่านั้นมาสู่โลกภายนอกที่มีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ถูกจัดสร้างให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคใหม่ซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และพฤติกรรมของคนในศตวรรษที่ 21 ที่มีการเรียนรู้จากประสบการณ์มากกว่าการอ่านจากหนังสือ ดังนั้นการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมบนมาตรฐานของความเป็นสวนดุสิตจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ทุกจุดสามารถเรียนรู้ได้ทั้งหมดจากการบูรณาการเชื่อมโยงพื้นที่ อันเป็นการพัฒนาสู่ยุคที่ 4 ดังที่ท่าน รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีได้กล่าววเอาไว้ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 ว่า
ตั้งแต่ ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน (ปี 2566) มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงที่ว่าเกิดจากการพยากรณ์ไปข้างหน้า พยากรณ์ภาพอนาคตขององค์กร ให้มีความเชื่อมโยงไปด้วยกันตาม Scenario ด้วยมาตรฐานและการดำเนินงานด้วยความเป็นเลิศในแบบฉบับของสวนดุสิต จึงนำมาสู่ Eminence (ความมีชื่อเสียง) และ Luxury (ความหรูหรา) ความเป็นสากลในแบบเฉพาะของสวนดุสิต ซึ่งแตกต่าง โดดเด่น และไม่เหมือนใคร
การสร้างสิ่งแวดล้อม และการเชื่อมโยงสถานที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ “สวนดุสิต” แตกต่างจากที่อื่น รูปแบบของสถานที่ที่มีอดีตอันแสดงให้เห็นถึงความสวยงาม ความเป็นระเบียบ และความสะอาด ต่อยอดสู่การสร้างและออกแบบอาคารหรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในปัจจุบันให้สอดรับกับความทันสมัย และความเปลี่ยนแปลง ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีนัยยะที่ซ่อนเร้นซึ่งมุ่งหวังให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่เดินเข้าสู่รั้วสวนดุสิต
“องค์ความรู้ที่ดี” เกิดขึ้นจากประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้จากสถานที่จึงเป็นแนวคิดที่จะช่วยเติมเต็มและต่อยอดความรู้ต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้ ทั้งเรียนรู้เหตุผลและที่มาของสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น “สูตรหรือตำรับอาหารข้างวัง” เนื่องจากสวนดุสิตเป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่อยู่ข้างวัง “การสร้างห้องสมุดเดิม” สู่ Virtual Library ผนวกกับสำนักวิทยบริการฯ เชื่อมต่อกับอาคาร 11 ที่มีห้องคอมพิวเตอร์ กลายเป็นการบูรณาการพื้นที่ร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงทุกพื้นที่ให้สามารถเรียนรู้ได้ในทุกจุด ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์จึงต้องเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม เป็นการบูรณาการการเรียนรู้ให้สามารถเรียนรู้ได้จากทุกพื้นที่ ซึ่งกระบวนการนี้โรงเรียนสาธิตละอออุทิศได้ดำเนินการ ด้วยการที่ครูพาเด็กเดินและเรียนรู้จากพื้นที่ต่างๆ ขณะที่นักศึกษาถูกมอบหมายให้ค้นคว้าหนังสือจากห้องสมุด ดังนั้น “การเรียนรู้เพียงแค่ในห้องสมุด” จึงกลายเป็นสิ่งที่นักศึกษาและอาจารย์ใช้ในการเรียนรู้ ทั้งที่ความจริงแล้ว “การได้ความรู้จากคน” เป็นสิ่งที่เร็วกว่า
ร้านกาแฟ (Café library) ในสวนดุสิตจึงเกิดขึ้น เพื่อให้คนได้คุยกัน ได้มองเห็นกัน รวมทั้งยังทำให้คนนอกได้เข้าใช้งานด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น นักศึกษาก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนามหาวิทยาลัยทั้งหมดนี้มีการลงทุนเป็นจำนวนมาก มีพื้นที่ที่ขยายเพิ่มไม่ว่าจะเป็น Sky Walk (โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ) และการสร้างสวนลอยฟ้า (อาคารกิจกรรม) แต่คนสวนดุสิตกลับไม่รู้หรือไม่เห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ และออกมาพูดว่าไม่มี ไม่ได้ทำ
Jigsaw ตัวสุดท้ายจึงหมายถึงการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ตามที่ผมอยู่ในตำแหน่ง ซึ่งมีภาพอนาคตที่วางไว้ คือ “ทุกพื้นที่ของสวนดุสิต คือ แหล่งการเรียนรู้” ภายใต้แนวคิด คือ เปิดพื้นที่พูดคุย จัดกิจกรรม ปรับสิ่งแวดล้อมใหม่ให้ห้องสมุดมีหนังสือน้อยที่สุดแต่เป็นแหล่งเรียนรู้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงเริ่มมีการปรับห้องสมุด อาคาร 11 อาคารวิทยบริการ โรงยิม อาคารเยาวภา และไล่เรียงไปยังอาคารเรียนต่างๆ จากสิ่งที่คิดนำมาสู่การหาข้อมูลมารองรับซึ่งแนวคิดของ OWL (One World Library) ถ้าทำให้เป็นเพียงแค่ห้องสมุดอย่างเดียวก็จะเลิกไป ดังนั้นจึงการปรับให้ทุกพื้นที่มีจอทีวี เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ จัดกิจกรรมที่หลากหลายเน้นการพูดคุยกันเพื่อให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันตามที่จัดขึ้นทุกเย็นที่โพลคาเฟ่ ท้ายสุดแล้วนั้นก็จะทำให้สู่ภาพอนาคตของ สวนดุสิต “แหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบบนมาตรฐานความเข้มแข็งทางวิชาการของตนเอง” (The University)
จากแนวคิดนี้ One World Library จึงเป็นห้องสมุดที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบนำมาบูรณาการร่วมกันบนพื้นที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบบนมาตรฐานความเข้มแข็งทางวิชาการของตนเองโดยมีเป้าหมายการจัดทำในระหว่างปี พ.ศ. 2565-2567 สู่ความสำเร็จของการพัฒนา คือ One World Library to the University