SDU Wellness Center ได้มีการดำเนินการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาทางสุขภาพจิตของนักศึกษา มาตั้งแต่ 2560 โดยทีมอาจารย์ทางจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตของนักศึกษา ต่อมาจึงได้จัดตั้ง SDU Wellness Center ขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ ปี 2563 สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด 19 (COVID-19) ทำให้ภาคการศึกษาได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจนต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นรูปแบบออนไลน์ (Online) ส่งผลให้นักศึกษาเกิดความเครียดจากการที่ต้องปรับตัวในกระบวนการจัดการเรียนรู้ จึงได้จัดตั้งศูนย์งานแนะแนวและการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา เป็นกระบวนการในการดูแลสุขภาพจิต ของนักศึกษา โดยอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางจิตวิทยาจะทำงานร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาในการช่วยเหลือนักศึกษาที่ประสบปัญหาให้สามารถต่อเผชิญและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม โดยวัตถุประสงค์ได้แก่  1) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต 2) เพื่อช่วยเหลือ แก้ไข นักศึกษาที่ประสบปัญหาในการใช้ชีวิตระหว่างเรียน และ 3) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาสุขภาพจิตของนักศึกษา ในการดำเนินการที่ผ่านมา SDU Wellness Center ได้จัดกิจกรรม ดังนี้

การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต SDU Wellness Center ได้มีช่องการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตให้แก่นักศึกษาและบุคลากร ในหลายช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook : SDU Wellness Center, Instagram : SDU_WELLNESS_CENTER, Twitter : Wellness SDU, Line : SDU Wellness Center อีกทั้งยังได้มีบริการแพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นบริการเสริมให้กับนักศึกษา

การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต SDU Wellness Center ได้มีช่องการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตให้แก่นักศึกษาและบุคลากร ในหลายช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook : SDU Wellness Center, Instagram : SDU_WELLNESS_CENTER, Twitter : Wellness SDU, Line : SDU Wellness Center อีกทั้งยังได้มีบริการแพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นบริการเสริมให้กับนักศึกษา

การช่วยเหลือ แก้ไข นักศึกษาที่ประสบปัญหาในการใช้ชีวิตระหว่างเรียน SDU Wellness Center ได้มีบริการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา ทั้งแบบเดียว (Individual Counselling) และแบบกลุ่ม (Group Counselling) โดยมีการให้บริการทั้งแบบ Onsite และ Online จากข้อมูลสถิติการให้บริการในปี 2564 พบว่า จำนวนผู้รับบริการ จำนวนทั้งสิ้น 57 ราย เข้ารับบริการผ่านช่องทาง Line 33 ราย โทรศัพท์ 9 ราย เฟสบุ๊ค 2 ราย และเข้ามาที่ศูนย์ 2 ราย

การส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาสุขภาพจิตของนักศึกษา SDU Wellness Center ได้แก่ กิจกรรม “Basic counseling for Freshman” โครงการฝึกอบรมและบริการวิชาการคณะครุศาสตร์ หัวข้อ”โรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นกับการเรียนรู้ และการรับมือ” กิจกรรมส่งต่อความรัก โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เรียนรู้ วัดใจ ปรับใช้ ให้ใจสุข” โครงการพัฒนาบุคลากรคณะครุศาสตร์ เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้มีทักษะทางด้านการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาและสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงาน ในหัวข้อ “ทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นสู่การประยุกต์ใช้สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา” เป็นต้น

SDU Wellness Center ยังเป็นกำลังในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQ+ โดยได้จัดกิจกรรม เสวนากับหมอเดว “Empathy สัมผัสใจอย่างไรให้เข้าถึง LGBTQ+” โดยมุ่งสร้างพื้นที่ของสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน การปรับตัวของนักศึกษา ตลอดจนการทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง

ทั้งนี้ SDU Wellness Center ได้มีกระบวนการในการทำงานผ่านการร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อปรับปรุง พัฒนา งานให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการประชุมเพื่อวางแผนและติดตามงานอย่างต่อเนื่อง และได้ทำความร่วมมือกับภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในการส่งนักศึกษาฝึกประสบการณ์ด้านการให้การปรึกษา เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการพัฒนางานและนักศึกษา

จึงเห็นได้ว่า SDU Wellness Center ได้มีการดำเนินงานในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาทางสุขภาพจิตของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประเมินและติดตามผล ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลกับนักศึกษาสูงสุด

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

แหล่งที่มา

https://sdg.dusit.ac.th/2021/1727/